ทะเบียนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ปี พ.ศ. 2564
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
สาขา/ประเภท | ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม | ความสำคัญ | ภาพถ่าย |
1. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาตำนานพื้นบ้าน
|
ตำนานเขาสาปยา (สรรพยา)
|
กรมส่งเสริมวัฒนธรรมประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2562 ตามตานานเขาสรรพยาที่ปรากฏชื่ออยูในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเปนบทพระราชนิพนธของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลที่ ๒ มีความเชื่อกันวานาจะเปนเขาสรรพยาในเขตสรรพยานั่นเอง เลากันวา เมื่อพระลักษมณรบกับกุมภกรรณและเสียทีถูกหอกโมกขศักดิ์ พิเภกไดกราบทูลพระรามใหทรงทราบถึงฤทธิ์ของหอกและยาที่จะแกไข พระรามจึงมีพระบรมราชโองการใหหนุมานไปหา สมุนไพรชื่อสังกรณีตรีชวามาทายารักษา หนุมานไดเหาะไปที่เขาหลวงแตไมรูจักสังกรณีตรีชวา จึงรองถามหา เมื่อถามอยูเชิงเขาไดยินขานรับอยูบนยอดเขา เมื่อถามบนยอดเขาก็ไดยินขานรับอยูเชิงเขา หนุมานบันดาลโทสะพอไดยินขานรับอยูบนยอดเขาก็หักกลางเขาแบกเหาะไปไดสักหนอยก็บิเขาสวนหนึ่งทิ้งไป สวนที่หักทิ้งไปกลายเปนเขาขยายในเขตอาเภอเมืองชัยนาทปจจุบัน ขณะที่เหาะรูสึกกระหายน้าเปนกาลัง และเห็นบึงใหญอยูกลางทางจึงแวะเอาเขาวางลงริมบึง แลววักน้าตอนตะวันตกเฉียงใตของบึงขึ้นดื่ม ทาใหบึงบริเวณนั้นลึกกวาบริเวณอื่น เนื่องจาก บริเวณบึง เปนเลน เขาที่หนุมานวางไวจึงยุบลงดินจนติดแนน เมื่อดื่มน้าเสร็จจึงยกเขาไมขึ้น แตบางทานวา เมื่อหนุมานกระหายน้านั้น ไดเอาเขาวางลงบนดินแลวเดินไปขอน้าเด็กเลี้ยงควายดื่ม เด็กเลี้ยงควายนอกจากจะไมใหน้าแลวยังหลอกล้อเลนอีกดวย หนุมานเกิดโทสะเดินกลับที่เขาโดยไมไดดื่มน้า แตบางทานวา หนุมานเดินไปดื่มน้าที่แมน้า เจาพระยา ทางเดินไปและกลับกลายเปนลาคลองซึ่งอยูขางวัดโบสถ(ปจจุบันเหลือแตซากเจดีย) ตอมาภายหลังจึงเรียกคลองนี้วา “บางโบสถ” เมื่อหนุมานดื่มน้าแลว กลับมายกเขาไมขึ้นจึงเรียก “สังกรณีตรีชวา” อยางคราวที่แลว แลวหักเอาเขาสรรพยาดานทิศเหนือ เขาสรรพยาดานทิศเหนือจึงลาดลง กอนจากไปหนุมานจึง วาบนเขานี้มีสรรพยารักษาโรคไดทุกชนิดแตคนที่นี้ใจจืด ขอแคน้าก็ไมใหกินเลยสาปไว“ คนที่เกิดที่สรรพยาไมสามารถใชยานี้รักษาโรคได ”และสลัดขนเปนตนละมานเพื่อปองกันคนขึ้นไปหายาบนเขา แลวหนุมานก็หักยอดเขาไป แตยอดเขานั้นเล็กหนุมานจึงคอนแลวนาไปวางไวที่ที่เกิดเหตุ ซึ่งเรียกวา “เขาสมอคอน” ปจจุบันนี้อยูในเขตลพบุรี เมื่อหนุมานไดสาปไวณ เขาที่ตนยกมา แลวชาวบานจึงเรียกเขานี้วา “ เขาสาปยา ” ตอมาภายหลัง เรียกเปนสรรพยา ( สับ–พะ-ยา ) สวนบึงสรรพยาที่หนุมานวักน้าดื่มนั้นตอมาแลงและตื้นเขินลงเหลือบางสวน มีชื่อ เรียกตอมาวา“บึงอรพิม” |
|
การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ทรงประทับแรม ณ บ้านสรรพยา ถึง 2 ครั้ง | ครั้งที่ 1 (ร.ศ.120) การเสด็จครั้งนี้เป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎรอย่างเป็นทางการ โดยเรือพระที่นั่งเก๋ง มีเรือกลไฟลากจูงออกท่าบางปะอิน มีจุดหมายปลายทางที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จมาถึงพลับพลาที่ประทับบ้านสรรพยาเวลาค่ำ และทรงแจกเหรียญเสมาที่ระลึกแก่ข้าราชการและราษฎรในขณะนั้น พระองค์ประทับแรมที่บ้านสรรพยา 1 คืน
ครั้งที่ 2 (ร.ศ.125) การเสด็จประพาสเมืองสระบุรี นมัสการพระพุทธบาท แล้วขึ้นตามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านอ่างทอง สิงห์บุรี สรรพยา มโนรมย์ ชัยนาท ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปถึงกำแพงเพชร ทรงเสด็จถึงอำเภอสรรพยา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2449 กระบวนเรือจอดที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงประทับแรม 1 คืน |
|
|
ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น | การเสด็จเปิดเขื่อนเจ้าพระยาของรัชกาลที่ 9 | ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2498 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยา
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงทำพิธิเปิดเขื่อนเจ้าพระยา สร้างความปลื้มปิติแก่พสกนิกรในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงพร้อมใจกันมารับเสด็จเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นจะเป็นครั้งที่มีผู้มารวมตัวกันที่เขื่อนเจ้าพระยาเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ |
|
เพลงพื้นบ้านรำมะนา | การแสดงพื้นบ้านรำรำมะนา ถือเป็นการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดชัยนาท โดยการรำรำมะนานั้น แต่เดิมมาจากการเล่นเพลงโทน ซึ่งเป็นการร้องการประกอบการตีโทน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมาชาวบ้านคิดว่าไม่มีความสนุกเท่าที่ควร จึงเปลี่ยนเครื่องดนตรีจากโทนมาเป็นรำมะนา และคิดเนื้อร้องท่ารำประกอบการแสดง ทำให้ได้ความสนุกสนานมากขึ้น การแสดงรำมะนาเป็นการแสดงที่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง หนึ่งวงจะประกอบด้วย 12 คู่ ส่วนใหญ่ใช้ในการแสดงในวันนักขัตฤกษ์ และงานประเพณีต่าง ๆ
|
|
|
2. สาขาศิลปะการแสดงดนตรีและเพลงร้อง
|
เพลงฉ่อย | เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทางและการร้องคล้ายลำตัด คำร้องของเนื้อเพลงจะสนุกทะลึ่งทะเล้น โดยคิดเนื้อเพลงสดๆ ต่อเนื้อเพลงโดยไม่ได้เรียนจากที่ใด คิดเนื้อเพลงร้องกันเอง ปัจจุบันมีบุคคลที่ร้องได้คือ นางประจำ สิงห์ทอง ท่านมีอายุ 81 ปี (ณ พ.ศ.2565) บ้านอยู่หมู่ ๖ บ้านใต้วัดราษฎร์ และนางบุญสม นกนคร อยู่หมู่ ๗ บ้านอ้อย ร้องเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว
|
|
งานประเพณีอัฏฐมีบูชา | วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เจ้ามัลลกษัตริย์ ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการะบูชาพระบรมศพพระพุทธองค์หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นเวลา ๗ วัน ครั้น ถึงวันที่ ๘ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ จึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง วันนี้เอง จึงเรียกว่า “วันอัฐมีบูชา” นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องสูญเสีย พระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เวียนมาถึง วันอัฏฐมีบูชา เวียนมาบรรจบในแต่ละปี พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาขึ้น โดยการประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง และเรียกวันนี้ว่า “วันอัฏฐมีบูชา” เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ประเพณีวันอัฏฐมีบูชา หรือวันการถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ในปัจจุบัน ได้เลือนหายไปคงเหลือปฏิบัติสืบทอดมาเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ในปี 2555 เทศบาลตำบลสรรพยาร่วมกับชมราฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา จึงได้ร่วมกันจัดงาน “เล่าขานตำนานเมืองสาปยา (สรรพยา) อัฏฐมีบูชารำลึก” ณ วัดสรรพยาวัฒนาราม ขึ้นเป็นครั้งแรก กิจกรรมภายในงานจะมีการจัดแสงสีเสียงเพื่อระลึกถึง วันอัฏฐมีบูชา มีการแสดงโขน การแสดงประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กและเยาวชน ประชาชน จำนวนมาก และได้จัดสืบต่อกันมามากกว่า ๑๐ ปีแล้ว เพื่อเป็นการสืบสานและสืบทอดให้เป็นงานประเพณีท้องถิ่นสำคัญของชาวอำเภอสรรพยา |
|
|
3. สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และงานเทศกาลประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
|
งานประเพณี แห่เทียนพรรษา | งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือนดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน คือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบค่ำเดือนสิบ
ชุมชนสรรพยายังคงรักษาประเพณีการหล่อเทียนจำนำพรรษาด้วยขี้ผึ้ง เพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่จากรังผึ้ง และแห่เทียนไปถวายวัดเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีเครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน โดยปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี
|
|
งานตักบาตรเทโวโรหะนะ | ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง
ในวันนี้ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหารเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน นำไปร่วมกิจกรรมในวัดประจำชุมชนหรือวัดที่อยู่ใกล้บ้าน โดยวัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์ |
|
|
งานประเพณี ตรุษสงกรานต์ |
เป็นมรดกภูมิปัญญาของไทย ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของไทย เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน ของทุกปี กิจกรรมวันสงกรานต์จะมีการทำบุญตักบาตร เพื่อเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไป และก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติม เพื่อจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข การบังสุกุลอัฐิ สำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็นลักษณะของเจดีย์ จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการที่เราไปอวยพรผู้ใหญ่ใที่ห้ความเคารพนับถือ และการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าการล้างบาปที่เราได้ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี มีแต่ความสุข ความสบายในวันขึ้นปีใหม่
|
|
|
ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล | งานประเพณีเผาข้าวหลาม งานบุญเดือนสาม | วันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา นอกจากกิจกรรมเข้าวัด ฟังธรรม เจริญสมาธิภาวนา และเวียนเทียนตามแบบฉบับชาวไทยพุทธทั่วไปแล้วพี่น้องชาวสรรพยายังมีประเพณีพิเศษที่เรียกว่าทำบุญเผาข้าวหลาม โดยชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนในอดีตจะนำข้าวเหนียวซึ่งมีกลิ่นหอมโดยธรรมชาติมาหุงในกระบอกไม้ไผ่ จะได้เป็นข้าวหลามสำหรับนำไปถวายพระที่วัดเนื่องใน
วันมาฆบูชานั่นเอง หลังเสร็จพิธีสงฆ์ก็จะนำพวงมาลัยไปไหว้บูชาศาลเจ้าพ่อเสือประจำหมู่บ้าน พร้อมกับหักตอกจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัว เรียกกันว่า “การหักตอกไถโทษตัว” ด้วยเชื่อว่าจะเป็นการกำจัดสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไปจากชีวิต และนำสิ่งดีๆ เข้ามาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัว
|
|
ประเพณีเกี่ยวกับ วงจรชีวิต | การไว้ผมโก๊ะและแกละ | ความเชื่อเรื่องการไว้ผมโก๊ะและแกละ ในสมัยอดีตเด็กๆ มีการโกนจุกจะทำเป็นงานบุญ สมัยก่อนเด็กๆ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือ เลี้ยงยากจะให้ไว้ผมโก๊ะ ผมแกละ โดยพ่อและแม่จะนำดินมาปั้นเป็นตุ๊กตา ทำจุก ทำโก๊ะ ทำแกละ สามแกละ เรียกโก๊ะ โดยจะให้เด็กเลือกจับตุ๊กตาและจะไว้ผมตามนั้น
ปัจจุบันยังมีประเพณีนี้คงไว้อยู่ โดยใช้ดินน้ำมันปั้นแทนดินเหนียว
|
|
ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน | เรือผีหลอก | เป็นวิธีหนึ่งในการจับปลาแบบโบราณที่ยังคงเหลืออยู่ มีวิธีการจับปลาที่คือ จะมีเรือที่ทำขึ้นพิเศษโดยกาบเรือด้านหนึ่งมีกระดานที่ทาสีขาว และผู้จับปลาจะพายเรือยามค่ำคืนโดยเฉพาะคืนเดือนมืด และนำไฟส่องลงไปในแม่น้ำ และเมื่อปลาเห็นลำแสงจากไฟฉายและเรือที่มีกระดานสีขาว จะเป็นสิ่งที่ทำให้ปลาตกใจ จนกระโดดขึ้นเรือเองและบนเรือจะมีตาข่ายกั้นเพื่อไม่ให้ปลาตกน้ำหรือหนีไปได้ ปลาที่เรือผีหลอกนั้นสามารถจับได้หลายชนิดในอดีต อาทิ ปลาสร้อย ปลาเนื้ออ่อน และปลาเบี้ยว เป็นต้น
|
|
4. สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | สมุนไพรสังกรณ๊ ตรีชวา | สังกรณีตรีชวา เป็นสมุนไพรที่ขึ้นอยู่มากมายบนเขาสรรพยา และเป็นชื่อของพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงใน พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกกุมภกรรณ ซึ่งกุมภกรรณได้พุ่งหอกโมกขศักดิ์ ซึ่งเป็นหอกศักดิ์สิทธิ์ถูกพระลักษมณ์สลบไป พิเภกจึงทูลพระรามว่าหากร่างพระลักษณ์ต้องแสงอาทิตย์จะตายต้องให้หนุมานไปเก็บ สังกรณีตรีชวา ที่เขาสรรพยา มาทำเป็นยาพอก จึงจะรักษาหาย
สังกรณี มี 2 ชนิด คือ สังกรณีใบมัน เป็นไม้ประดับพุ่มเตี้ยกว่า 1 เมตร มี 2 ชนิด คือ ดอกสีแสดและสีส้ม ดอกมีความสวยงามสดใสอย่างมาก มีประโยชน์ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิษไข้ แก้ไอใบ แก้กำเดา แก้ไข้หวัดใหญ่ แก้คออักเสบ สังกรณี ดอกสีม่วง เป็นพันธุ์ไม้หายาก ลักษณะเป็นพุ่ม ที่ลำต้นไม่มีหนามแตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ใช้ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษไข้ทั้งปวง ลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหายน้ำและกินเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ
ตรีชวา ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง ประมาณ 0.5-1 เมตร ใบเดี่ยว ปลายและโคนแหลม ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 2 ส่วน การกระจายพันธุ์ พบได้ทั่วไปตามภูมิภาคของไทย ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน สรรพคุณดับพิษโลหิต สมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ ปัจจุบันเทศบาลตำบลสรรพยาได้ส่งเสริมให้มีการปลูกสังกรณีและตรีชวา เพื่อนำสารสกัดจากมาเป็นส่วนผสมของยาหม่องสมุนไพร และ ผลิตชาตรีชวา เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยว |
|
อาหารและโภชนาการ
|
ตาลโตนด | สรรพยาเป็นเมืองแห่งต้นตาล การทำตาลเป็นอาชีพเก่าแก่ของชาวสรรพยา และนับวันจะสูญหายไป คนไทยคุ้นเคยกับน้ำตาลสดมาแต่โบราณ ถือเป็นความหวานจากธรรมชาติแท้ๆ น้ำตาลสดเมื่อเก็บมาแล้ว จะแบ่งต้มขายเป็นน้ำตาลสดที่เหลือเคี่ยวจนงวดเพื่อทำน้ำตาลปีก ส่วนลอนตาลสดมีให้ชิมช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และจาวตาลเชื่อมต้องรอประมาณเดือนตุลาคมเท่านั้น นอกจากนี้ชาวบ้านยังดัดแปลงและนำส่วนต่าง ๆ ของตาลมาเป็นวัตถุดิบในการนำมาประกอบอาหารคาวหวานได้อีกหลายชนิด เช่น ปลาร้าหัวตาล ขนมตาล เม็ดขนุนจาวตาล ฯลฯ
|
|
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย | หมอกระดูกและเส้น | “หมอหวังบาทเดียว” หรือ นายสมหวัง เม่นนิ่ม อายุ 81 ปี ต.บางหลวง อ.สรรพยา มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคกระดูกต่าง ๆ และเส้น หรืออาการแขนขาหักได้ มากว่า 40 -50 ปี โดยใช้น้ำมนต์และน้ำมัน ซึ่งเป็นการแพทย์แผนโบราณที่ ได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยบวชเป็นพระ
สามารถรักษาโรค ผู้ที่มารับการรักษาส่วนใหญ่เป็นคนยากคนจน จึงคิดค่าครู 1 บาทเท่านั้น |
|
ผงสีฟันสมุนไพร เมืองสาปยา |
ผงสีฟันสมุนไพรถูกพัฒนาขึ้นจากตำรายาโบราณเป็นสูตรเฉพาะของ นางเง็กลั้ง จันทรวรรณกูร จากชุมชนตลาดโรงพักเก่าสรรพยา มานานกว่า 80 ปี ด้วยส่วนผสมของเกลือ พิมเสน การบูร สารส้ม เมนทอล ผสานด้วยคุณค่าของส่วนผสมจากสมุนไพรและแร่ธาตุ 100% สรรพคุณ : แก้รำมะนาด เหงือกเป็นแผล รากฟันแข็งแรง ฟันขาวสะอาด ขจัดกลิ่นปาก ลดอาการปวดบวม ลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก
ปัจจุบันเป็นสินค้าขายดีประจำชุมชนตลาดเก่าสรรพยา
|
|
|
5. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิมงานตัดกระดาษ | งานตัดพวงมโหตร ม่านบังตา สายมะลิเลื้อย และลูกโลก |
ในปี 2560 คณะครู ร.ร.ทต.สรรพยา ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าปู่บุญลือ เสือเปีย อายุ 94 ปี ต.โพนางดำตก อ.สรรพยา ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือละเอียดปราณีตสร้างสรรค์ลวดลายหลากหลายสามารถเปลี่ยนกระดาษว่าวแผ่นบาง ให้กลายเป็นเครื่องห้อยรูปทรงสวยงามแปลกตา ต่อมาในปี 2561 เทศบาลได้จัดอบรมวิธีการตัดพวงมโหตร ม่านบังตา สายมะลิเลื้อย และลูกโลก จากปู่บุญลือ ก่อนท่านเสียชีวิตไม่ถึงปี โดยมีนายวิสุทธิ์ พันธุ์หวาด เป็นผู้ที่สนใจรับการถ่ายทอดโดยตรง และได้นำมาสอนต่อให้กับคนในชุมชน นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่สนใจ
ปี 2565 ได้เป็นตัวแทนของจังหวัดชัยนาทไปเผยแพร่วัฒนธรรมในงานยลรุกขมรดกของแผ่นดินวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง |
|
6. สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกีฬาพื้นบ้าน | ตะกร้อลอดบ่วง | การเล่นตะกร้อลอดบ่วง เป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย ที่ประชาชนคนใดทำผิดกฎหมาย จะถูกทำโทษโดยการจับยัดใส่ลูกตะกร้อที่มีขนาดใหญ่มากและให้ช้างเตะไทยเราจึงดัดแปลงโดยการศึกษาจากการเตะของช้างและนำท่าเตะแต่ละท่ามาประยุกต์เป็นท่าเตะตะกร้อแต่ละท่าในปัจจุบัน
ตะกร้อลอดบ่วงนี้นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพ ทั้งในด้านร่างกายและสติปัญญาอีกด้วย เพราะการเล่นนอกจากจะใช้พลังในการเล่น ยังต้องมีสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สายตา แขน ขา ศีรษะ และสติปัญญาอีกด้วย สามารถที่จะเล่นกันได้ทั่วไป ถือเป็นการนันทนาการพักผ่อนของคนไทย ในพื้นที่ตำบลหาดอาษา ยังมีการกีฬาประเภทนี้ และจะถูกจัดขึ้นในงานประเพณีสำคัญต่างๆ เช่น งานวัด (งานประจำปี) หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ งานประเพณีต่าง ๆ |
|
ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว | มวยไทย | ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกันด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิดท่ามวย หรือที่เรียกว่าแม่ไม้มวยไทยมากมาย
พระสมุห์ยงยุทธ นริสฺสโร หรือ “อาจารย์ ต่าย” เจ้าอาวาสวัดสะแก ตำบลโพนางดำตก ได้อนุรักษ์ “มวยไทย” ไว้เป็นมรดกพื้นบ้านสรรพยา ด้วยการตั้ง “ค่ายมวยศิษย์อาจารย์ต่าย” ขึ้นภายในวัด รับสมัครและได้ฝึกซ้อมเด็ก/เยาวชนที่มีความตั้งใจหรือขาดโอกาสทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อนำมาอบรมสั่งสอน และฝึกวิชาแม่ไม้มวยไทย ตั้งแต่เล็ก ๆ พร้อมให้โอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้มีรายได้จากการชกมวยสมัครเล่น และสามารถพัฒนาเป็นนักมวยอาชีพที่มีชื่อเสียงระดับประเทศหลายคน โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลสรรพยาที่ได้มอบเวทีผ้าใบ และเทศบาลตำบลโพนางดำตก นายนิติรุจน์ มุขเฉลิมวงศ์ นายกเทศมนตรีตำบลโพนางดำตก ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับซ้อม และจัดแข่งขันชกมวยประเภทต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี
|
|