skip to Main Content
Green Destinations Top 100 Stories สรรพยา งานที่ไม่ง่าย

Green Destinations Top 100 stories สรรพยา งานที่ไม่ง่าย

กว่าที่สรรพยาจะได้เป็น Green Destinations Top 100 stories ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเตรียมข้อมูล เพื่อทำการชี้แจงกรรมการเพื่อให้เข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงาน เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูล ความพึงพอใจของทั้งนักท่องเที่ยว, ชุมชนผู้อยู่อาศัย และการสร้างกระบวนการในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นรูปธรรม โดยจำเป็นจะต้องเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้ประสานงานด้านความยั่งยืน กำหนดบทบาทหน้าที่ มีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน  มีรายการสินทรัพย์ของแหล่งท่องเที่ยวที่มีการปรับปรุงอยู่เสมอ และเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าไปใช้ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีนโยบายการท่องเที่ยว มีแผนรองรับในการพัฒนาอย่างมีทิศทางและยั่งยืนที่วัดผลได้ แหล่งท่องเที่ยวยังจำเป็นต้องแสดงถึง การปกป้องดูแลภูมิทัศน์และทัศนียภาพให้สวยงามอยู่เสมอ มีการวางแผนเชิงพื้นที่ไม่ให้เสื่อมโทรม รวมถึงการลดปริมาณขยะ ลดการใช้พลาสติก มีรายงานเป้าหมาย และความพยายามในการกำจัดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในภาคการท่องเที่ยว การลดการปล่อยมลพิษจากการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีนโยบาย และเครื่องมือบ่งชี้ ที่สามารถติดตามและวัดผลได้ อีกทั้ง การลดการใช้พลังงานในแหล่งท่องเที่ยว มาตรการที่ใช้ และการวางแผนการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ Green Destination ยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และไม่ได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องมีนโยบายหรือรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกที่สร้างขึ้น การจดบันทึกรายการทรัพย์ สินทางวัฒนธรรม การปกป้องและแสดงหลักฐานการดำเนินการ โดยทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการส่งเสริม ปกป้องและการเฉลิมฉลองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่นประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น  ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินให้ความสำคัญกับภาคีเครือข่าย ทั้ง 1. ผู้อยู่อาศัยที่มีส่วนร่วมในการวางแผน   2. การสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่น มากกว่าคนจากข้างนอก มีการสนับสนุนวิสาหกิจท้องถิ่นห่วงโซ่อุปทาน และการลงทุนที่ยั่งยืน การส่งเสริมสินค้า และบริการท้องถิ่น รวมถึงการป้องกันภัยและสุขภาพ  และการส่งเสริมความยั่งยืนระหว่างวิสาหกิจ ซึ่งสามารถแสดงหลักฐานถึงการปฏิบัติจริงให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้น การที่สรรพยาได้เป็น Green Destinations Top 100 stories จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วม ทั้งในระดับเทศบาล ผู้บริหาร คณะทำงาน ผู้นำชุมชน และเครือข่ายในด้านต่างๆ เพื่อร่วมมือกัน เก็บข้อมูล บันทึกผล รายงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาที่เน้นผลจากตัวชี้วัดที่ได้วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น จึงทำให้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชาวสรรพยา มีพัฒนาการจากจุดที่เรียนรู้ร่วมกัน จนมาถึงจุดที่มองเห็นปัญหา และช่วยกันแก้ไข โดยอาจกล่าวได้ว่า ผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาที่มีทิศทาง และต่อเนื่องในการวางเป้าหมายด้วยกัน ความเสียสละของผู้นำทั้งพี่เลี้ยงที่เป็นเทศบาล และผู้นำชุมชนที่รวมพลังชาวสรรพยามาร่วมทำประโยชน์ร่วมกันให้บ้านเกิด เพื่อหวังให้การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดอาชีพเสริมและนำมาซึ่งการกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ในการร่วมกันพัฒนาสรรพยาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบในระดับประเทศ และในระยะ 4 ปีของการเดินทางตามเป้าหมายของแต่ละช่วงนั้น สรรพยาได้ทำสำเร็จ เพื่อเป็นต้นแบบในระดับประเทศ และระดับสากล ในการสร้างแรงบันดาลใจให้แหล่งท่องเที่ยวมีความยั่งยืน นั้นมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป

This Post Has 0 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

thThai