ท่องเที่ยวเชิงอาหาร สรรพยา ชัยนาท

การสร้างความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวเชิงอาหาร

         “แหล่งท่องเที่ยวตลาดโรงพักเก่าสรรพยา” เกิดจากความร่วมมือกันของชุมชนที่ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะที่นับวันเพิ่มสูงขึ้น จึงจัดการท่องเที่ยวโดยไม่สร้างผลกระทบให้กับชุมชนและสังคม ตามแนวคิด “ตลาดปลอดโฟม 100% และงดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง” หรือ ตลาดกรีนดี (Green Market) และนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (The Global Sustainable Tourism Council ) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับระดับประเทศจากหลายหน่วยงาน และปี 2022 ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 แห่ง ของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล Green Destinations…

Continue Reading
งานบุญข้าวหลามเดือนสามสรรพยา

ประเพณีข้าวหลามเดือน สามสรรพยา

ประเพณีเผาข้าวหลามเดือนสามสรรพยา เป็นงานที่คนในชุมชน พี่น้อง ครอบครัว จะรวมตัวกันเพื่อเผาข้าวหลาม นำไปถวายพระ (จะจัดขึ้นในเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ สอดคล้องกับวันพระวันมาฆบูชา) นอกจากกิจกรรมเข้าวัด ฟังธรรม และเวียนเทียนแล้ว พี่น้องชาวสรรพยายังมีประเพณีทำบุญเผาข้าวหลาม สำหรับนำไปถวายพระ และนำพวงมาลัยไปไหว้บูชาศาลเจ้าพ่อเสือประจำหมู่บ้าน พร้อมกับหักตอกจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัว เรียกกันว่า “การหักตอกไถ่โทษตัว” ด้วยเชื่อว่าจะเป็นการกำจัดสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไปจากชีวิต และนำสิ่งดีๆ เข้ามาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ในอดีต งานบุญข้าวหลามช่วยทำให้ครอบครัว คนในชุมชนได้พบปะกัน ใกล้ชิดกันมากขึ้น  โดยที่ชาวบ้านจะรวมตัวกันก่อนวันพระ…

Continue Reading

น้ำพริกสาปยา ไข่เป็ดไล่ทุ่งต้มยางมะตูม

เรื่องราว น้ำพริกสาปยาเป็นสูตรเฉพาะของชุมชน เป็นการนำน้ำพริกเผามาผัดกับหมูสับและขิงซอยปรุงรสโดยน้ำตาลโตนด มะขามเปียกและน้ำปลา ทานคู่กับไข่เป็ดไล่ทุ่งต้มเป็นยางมะตูม  เป็นอาหารที่ถูกปากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน และท่านรู้หรือไม่ว่า ไข่เป็ดไล่ทุ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบทีเด็ด และดีกว่าอย่างไร หากท่านที่ได้เคยลองทาน ไข่เป็ดไล่ทุ่งที่สรรพยา จ.ชัยนาทแล้ว จะรู้สึกได้เลยว่า จะไม่มีกลิ่น ไม่เหม็นคาว เท่ากับไข่เป็ดที่เลี้ยงจากในฟาร์ม สีของไข่เป็ดไล่ทุ่งสรรพยา จะมีสีไข่แดง จะแดงเข้มเป็นธรรมชาติ แดงกว่าไข่เป็ดที่เลี้ยงในฟาร์มแบบปกติอย่างเห็นได้ชัด แล้วจะดูอย่างไรว่าไข่เป็ดนั้นเป็นไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้ ๆ ? อย่างแรก ให้ดูจากแหล่งที่มา หากได้ซื้อ ได้ช้อปจาก ต.สรรพยา จ.ชัยนาท อันนี้คือไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้…

Continue Reading
ส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาท

ส้มโอขาวแตงกวา

ผลไม้ประจำถิ่นเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ มีลักษณะเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นสมบัติที่คู่กับจังหวัดชัยนาท มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปีก่อน โดยมีนางผึ้งไม่ทราบนามสกุล ได้นำส้มโอมาปลูกในพื้นที่ ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์  จ.ชัยนาท เป็นรายแรก และได้ตั้งชื่อส้มโอว่า พันธุ์ขาวแตงกวา ที่มีเอกลักษณ์รสชาติเฉพาะตัวคือ จะมีรสหวานซ่อนเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด เนื้อสีเหลืองน้ำผึ้งค่อนข้างแห้งและกรอบ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไปและมีชื่อเสียงในอันดับต้นๆของประเทศ การปลูกให้ได้ผลส้มโอดีมีคุณภาพได้ส่งเสริมให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและผลิต ให้จัดการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีหรือเหลือใช้แบบผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมหรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อได้ผลส้มโอขาวแตงกวาดีมีคุณภาพที่ตลาดต้องการ แล้วเกษตรกรจะสามารถยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิถีการดำรงชีพที่มั่นคง ทางตลาดโรงพักเก่าสรรพยา มีจำหน่ายในทุกๆ…

Continue Reading
ธรรมนูญสรรพยา

ธรรมนูญสรรพยา

เทศบาลสรรพยา ร่วมกับชมรมฟื้นฟูตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ได้มีการทำประชุมเพื่อสร้างธรรมนูญสรรพยาที่เป็นข้อตกลงกันระหว่าง ชุมชน เทศบาล และการต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมถึงกฎระเบียบที่ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของสรรพยา โดยมีข้อตกลงดังต่อไปนี้ การจัดการระบบยานพาหนะ การจัดการการจอดรถของนักท่องเที่ยว การจัดการขยะ / มีการรับฝากขยะ (รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การจัดการขยะในพื้นที่) การพายเรือแทนการใช้เรือยนต์ การจัดระเบียบการขายของหาบเร่ การจัดป้ายบอกสถานทีและสื่อความหมายให้ชัดเจน และเพียงพอ ห้ามขีดเขียนประติมากรรมของพื้นที่ เช่น กำแพงสตรีทอาร์ท ควรถอดรองเท้า ก่อนขึ้นสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพักหรือวิหารน้อย ห้ามจำหน่ายสารเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ รณรงค์การใช้จักรยาน และที่พักควรมีบริการจักรยานให้นักท่องเที่ยวเช่า…

Continue Reading
สรรพยา ท่องเที่ยวเชิงอาหาร

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) คืออะไร ?

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หมายถึง การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร เทศกาลอาหาร ร้านอาหาร และการเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านอาหารในการชิมอาหาร และเครื่องดื่ม ผสมผสานการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ การโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศไทยยังคงให้ความสนใจในการลองรับประทานอาหารท้องถิ่นจนเกิดความซาบซึ้งในวัฒนธรรม และด้วยการท่องเที่ยวด้านอาหารเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัส ได้เรียนรู้วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ความนิยมอาหารพื้นถิ่นที่เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรม และถูกปรับใช้เพื่อเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของวัฒนธรรมอาหาร ถูกทำให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่นการจัดลำดับมิชลินไกด์ประเทศไทยเพื่อแนะนำร้านอาหารสำหรับผู้ที่เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ที่แตกต่างความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหารและการท่องเที่ยวของไทย ล่าสุดนั้น สรรพยา ได้รับรางวัล การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอาเซียน สาขาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ณ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนลาว ด้วยโปรแกรมนำเสนอ ในเรื่อง ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งสรรพยาคือตัวอย่างของการใช้ชีวิตแบบวิถีดั้งเดิมคู่บ้านคู่เมืองไทย

Continue Reading

หลวงพ่อพุทธสำเร็จ  วัดสรรพยาวัฒนาราม

อีกหนึ่งความสำคัญของสรรพยา “วัดสรรพยาวัฒนาราม” ที่ด้านหน้าทางเข้าวัดประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธสำเร็จ” องค์สีทองอร่าม สร้างจากแผ่นโมเสครูปนูนต่ำหลวงพ่อพุทธสำเร็จ จำนวนกว่า 1 แสน 7 หมื่นชิ้น เชื่อกันว่าหากได้มากราบไหว้ นอกจากจะประสบความสำเร็จแล้ว ยังเท่ากับเราได้กราบพระนับแสนองค์เลยทีเดียว ในช่วงที่ชุมชนช่วยกันบริจาคเพื่อสร้างพระให้สำเร็จ ความสวยงามที่เห็นนั้น เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนสรรพยา

Continue Reading

ตลาดโรงพักเก่าสรรพยา เคยเป็นอะไร ?

ชุมชนย่านตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง เคยเป็นท่าเรือเมล์ ที่ล่องไปยังกรุงเทพฯ วิถีชีวิตชุมชนมีความสัมพันธ์กับสายน้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมีทุนทางวัฒนธรรมหลากหลาย เมื่อก่อนนั้น จะมีชาวบ้านจุงควายมาอาบน้ำ ลูกหลานเล่นน้ำกันสนุกสนานอยู่ริมตลิ่งซึ่งในอดีตเป็นสันทราย ที่เล่นแล้วต้องระวังเพราะอาจจมน้ำได้ ทำให้ชาวบ้านจะกังวลมาก ไม่อยากให้ลูกหลานลงเล่นน้ำ จนในปัจจุบัน เด็กสรรพยา จะว่ายน้ำไม่เป็น ปัจจุบัน ตลาดโรงพักเก่าสรรพยา คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นแหล่งทองเที่ยวโดยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดย “ชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรรพยา” ที่มีสมาชิกประกอบด้วยบุคลากรที่มาจากหลายภาคส่วนทั้งคนในชุมชน ภาครัฐ และเอกชน ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางการจัดการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา

Continue Reading
อนุรักษ์พันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ประมงพื้นถิ่น นักอนุรักษ์พันธุ์ปลา ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นายไพฑูรย์ ปวีณมณีกุล ผู้ดูแลโครงการฟื้นฟูสัตว์น้ำและอนุรักษ์พันธุ์ปลาแม่น้ำเจ้าพระยา  อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ  ที่ชาวสรรพยาและผู้ที่อาศัยใกล้ชิดแม่น้ำเจ้าพระยา น่าจะมาศึกษาดูงาน เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา ได้ร่วมกับประมงพื้นถิ่น นำโดย พี่ไพฑูรย์ ที่ได้ต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเรียนรู้การทำประมงพื้นถิ่น และการรักษาพันธุ์ปลา กว่า 20 สายพันธุ์ ที่เลี้ยงไว้เพื่อเพาะพันธุ์และรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นถิ่น ซึ่งมีปลาที่เลี้ยงไว้แบบปลาสวยงาม และปลาเพื่อบริโภค โดยในช่วงเช้าของวิถีประมง จะมีการตรวจกระชังปลา ให้อาหาร และการวางกิ่งไม้ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลา หากวันนึงนั้น ปลาที่เคยมีอยู่คู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้หายไป เหลือไว้แต่ภาพในอดีต…

Continue Reading

บ้านอ้อย สรรพยา กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาเบอร์ต้น ๆ ของเมืองไทย

ทราบกันหรือไม่ว่า ? อำเภอสรรพยาบ้านเรา มีกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวา ที่สร้างมูลค่า และชื่อเสียงให้กับบ้านเราอย่างมาก โดยมีพี่จรวยพร เกิดเสม เป็นประธานกลุ่ม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยมีแนวคิดเริ่มต้นจากมีเวลาว่างหลังการทำนาสาเหตุที่เลือกผักตบชวาเพราะเป็นพื้นที่ที่มากับแม่น้ำปิงวังยมน่านไหลมารวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เกิดผักตบชวาจำนวนมากจึงนำมาใช้ทำจักสานแทนเส้นไม้ไผ่โดยใช้ภูมิปัญญาการสานไม้ไผ่จากปู่ย่าตายายนำมาทำการสานผักตบชวาแทน นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชน และเพื่อให้ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้รู้จักกันมากขึ้น เกิดความรักความสามัคคี สร้างความเข้มแข็งในชุมชน เป็นการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน ช่วยสร้างฐานรากเศรษฐกิจของชุมชน จักสานของกลุ่มหัตถกรรมบ้านอ้อย ได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป 5 ดาว ของจังหวัดชัยนาท เมื่อปี 2538 ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเน้นความประณีต มีหลายรูปแบบ หลากสไตล์…

Continue Reading