skip to Main Content
ท่องเที่ยวเชิงอาหาร สรรพยา ชัยนาท

Creating sustainability through Gastronomy tourism in Sapphaya

         “แหล่งท่องเที่ยวตลาดโรงพักเก่าสรรพยา” เกิดจากความร่วมมือกันของชุมชนที่ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะที่นับวันเพิ่มสูงขึ้น จึงจัดการท่องเที่ยวโดยไม่สร้างผลกระทบให้กับชุมชนและสังคม ตามแนวคิด “ตลาดปลอดโฟม 100% และงดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง” หรือ ตลาดกรีนดี (Green Market) และนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (The Global Sustainable Tourism Council ) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับระดับประเทศจากหลายหน่วยงาน และปี 2022 ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 แห่ง ของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล Green Destinations…

Continue Reading
งานบุญข้าวหลามเดือนสามสรรพยา

The tradition of Baked Sticky Rice in Bamboo in Sapphaya

ประเพณีเผาข้าวหลามเดือนสามสรรพยา เป็นงานที่คนในชุมชน พี่น้อง ครอบครัว จะรวมตัวกันเพื่อเผาข้าวหลาม นำไปถวายพระ (จะจัดขึ้นในเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ สอดคล้องกับวันพระวันมาฆบูชา) นอกจากกิจกรรมเข้าวัด ฟังธรรม และเวียนเทียนแล้ว พี่น้องชาวสรรพยายังมีประเพณีทำบุญเผาข้าวหลาม สำหรับนำไปถวายพระ และนำพวงมาลัยไปไหว้บูชาศาลเจ้าพ่อเสือประจำหมู่บ้าน พร้อมกับหักตอกจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัว เรียกกันว่า “การหักตอกไถ่โทษตัว” ด้วยเชื่อว่าจะเป็นการกำจัดสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไปจากชีวิต และนำสิ่งดีๆ เข้ามาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ในอดีต งานบุญข้าวหลามช่วยทำให้ครอบครัว คนในชุมชนได้พบปะกัน ใกล้ชิดกันมากขึ้น  โดยที่ชาวบ้านจะรวมตัวกันก่อนวันพระ…

Continue Reading

"Nam Prik Sapa Ya"

เรื่องราว น้ำพริกสาปยาเป็นสูตรเฉพาะของชุมชน เป็นการนำน้ำพริกเผามาผัดกับหมูสับและขิงซอยปรุงรสโดยน้ำตาลโตนด มะขามเปียกและน้ำปลา ทานคู่กับไข่เป็ดไล่ทุ่งต้มเป็นยางมะตูม  เป็นอาหารที่ถูกปากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน และท่านรู้หรือไม่ว่า ไข่เป็ดไล่ทุ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบทีเด็ด และดีกว่าอย่างไร หากท่านที่ได้เคยลองทาน ไข่เป็ดไล่ทุ่งที่สรรพยา จ.ชัยนาทแล้ว จะรู้สึกได้เลยว่า จะไม่มีกลิ่น ไม่เหม็นคาว เท่ากับไข่เป็ดที่เลี้ยงจากในฟาร์ม สีของไข่เป็ดไล่ทุ่งสรรพยา จะมีสีไข่แดง จะแดงเข้มเป็นธรรมชาติ แดงกว่าไข่เป็ดที่เลี้ยงในฟาร์มแบบปกติอย่างเห็นได้ชัด แล้วจะดูอย่างไรว่าไข่เป็ดนั้นเป็นไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้ ๆ ? อย่างแรก ให้ดูจากแหล่งที่มา หากได้ซื้อ ได้ช้อปจาก ต.สรรพยา จ.ชัยนาท อันนี้คือไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้…

Continue Reading
ส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาท

Chainat khaotangkwa pomelo

ผลไม้ประจำถิ่นเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ มีลักษณะเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นสมบัติที่คู่กับจังหวัดชัยนาท มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปีก่อน โดยมีนางผึ้งไม่ทราบนามสกุล ได้นำส้มโอมาปลูกในพื้นที่ ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์  จ.ชัยนาท เป็นรายแรก และได้ตั้งชื่อส้มโอว่า พันธุ์ขาวแตงกวา ที่มีเอกลักษณ์รสชาติเฉพาะตัวคือ จะมีรสหวานซ่อนเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด เนื้อสีเหลืองน้ำผึ้งค่อนข้างแห้งและกรอบ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไปและมีชื่อเสียงในอันดับต้นๆของประเทศ การปลูกให้ได้ผลส้มโอดีมีคุณภาพได้ส่งเสริมให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและผลิต ให้จัดการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีหรือเหลือใช้แบบผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมหรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อได้ผลส้มโอขาวแตงกวาดีมีคุณภาพที่ตลาดต้องการ แล้วเกษตรกรจะสามารถยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิถีการดำรงชีพที่มั่นคง ทางตลาดโรงพักเก่าสรรพยา มีจำหน่ายในทุกๆ…

Continue Reading
ธรรมนูญสรรพยา

The community charter of Sapphaya

เทศบาลสรรพยา ร่วมกับชมรมฟื้นฟูตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ได้มีการทำประชุมเพื่อสร้างธรรมนูญสรรพยาที่เป็นข้อตกลงกันระหว่าง ชุมชน เทศบาล และการต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมถึงกฎระเบียบที่ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของสรรพยา โดยมีข้อตกลงดังต่อไปนี้ การจัดการระบบยานพาหนะ การจัดการการจอดรถของนักท่องเที่ยว การจัดการขยะ / มีการรับฝากขยะ (รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การจัดการขยะในพื้นที่) การพายเรือแทนการใช้เรือยนต์ การจัดระเบียบการขายของหาบเร่ การจัดป้ายบอกสถานทีและสื่อความหมายให้ชัดเจน และเพียงพอ ห้ามขีดเขียนประติมากรรมของพื้นที่ เช่น กำแพงสตรีทอาร์ท ควรถอดรองเท้า ก่อนขึ้นสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพักหรือวิหารน้อย ห้ามจำหน่ายสารเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ รณรงค์การใช้จักรยาน และที่พักควรมีบริการจักรยานให้นักท่องเที่ยวเช่า…

Continue Reading
en_USEnglish