skip to Main Content

Can reducing global warming through the use of second-hand items make a difference?

การหันมาใช้สินค้ามือสองที่สภาพดี ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานได้ปกติ จะช่วยลดโลกร้อนได้จริง เพราะ การลดการผลิตใหม่: การซื้อขายสินค้ามือสองช่วยในการลดความต้องการในการผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรน้อยลง เช่น การใช้พลังงานและวัสดุที่น้อยกว่าในการผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสร้างมลพิษในกระบวนการผลิต การลดการจำเป็นต่อการทำลายสินค้า: การซื้อขายสินค้ามือสองช่วยลดความจำเป็นในการทำลายสินค้าที่ใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำลาย การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เต็มที่: การนำสินค้ามือสองกลับมาใช้ใหม่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่โดยการนำสินค้าที่มีอยู่อย่างใหม่และใช้งานได้ต่ออายุเพิ่มขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง: การใช้สินค้ามือสองที่อยู่ใกล้มากขึ้นจะช่วยลดการขนส่งที่เกิดมลพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้าใหม่ การส่งเสริมการใช้งานยั่งยืน: การซื้อขายสินค้ามือสองช่วยส่งเสริมการใช้งานยั่งยืนโดยการส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่และการยึดถือสินค้าในระยะยาว ทำให้มีความต้องการที่น้อยลงในการผลิตสินค้าใหม่ที่ไม่จำเป็น การซื้อขายสินค้ามือสองเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดโลกร้อนได้โดยไม่ต้องสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยส่งเสริมให้เกิดงานยั่งยืนในระยะยาวด้วย

Continue Reading

"Nam Prik Sapa Ya"

เรื่องราว น้ำพริกสาปยาเป็นสูตรเฉพาะของชุมชน เป็นการนำน้ำพริกเผามาผัดกับหมูสับและขิงซอยปรุงรสโดยน้ำตาลโตนด มะขามเปียกและน้ำปลา ทานคู่กับไข่เป็ดไล่ทุ่งต้มเป็นยางมะตูม  เป็นอาหารที่ถูกปากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน และท่านรู้หรือไม่ว่า ไข่เป็ดไล่ทุ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบทีเด็ด และดีกว่าอย่างไร หากท่านที่ได้เคยลองทาน ไข่เป็ดไล่ทุ่งที่สรรพยา จ.ชัยนาทแล้ว จะรู้สึกได้เลยว่า จะไม่มีกลิ่น ไม่เหม็นคาว เท่ากับไข่เป็ดที่เลี้ยงจากในฟาร์ม สีของไข่เป็ดไล่ทุ่งสรรพยา จะมีสีไข่แดง จะแดงเข้มเป็นธรรมชาติ แดงกว่าไข่เป็ดที่เลี้ยงในฟาร์มแบบปกติอย่างเห็นได้ชัด แล้วจะดูอย่างไรว่าไข่เป็ดนั้นเป็นไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้ ๆ ? อย่างแรก ให้ดูจากแหล่งที่มา หากได้ซื้อ ได้ช้อปจาก ต.สรรพยา จ.ชัยนาท อันนี้คือไข่เป็ดไล่ทุ่งแท้…

Continue Reading
ธรรมนูญสรรพยา

The community charter of Sapphaya

เทศบาลสรรพยา ร่วมกับชมรมฟื้นฟูตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ได้มีการทำประชุมเพื่อสร้างธรรมนูญสรรพยาที่เป็นข้อตกลงกันระหว่าง ชุมชน เทศบาล และการต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมถึงกฎระเบียบที่ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของสรรพยา โดยมีข้อตกลงดังต่อไปนี้ การจัดการระบบยานพาหนะ การจัดการการจอดรถของนักท่องเที่ยว การจัดการขยะ / มีการรับฝากขยะ (รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การจัดการขยะในพื้นที่) การพายเรือแทนการใช้เรือยนต์ การจัดระเบียบการขายของหาบเร่ การจัดป้ายบอกสถานทีและสื่อความหมายให้ชัดเจน และเพียงพอ ห้ามขีดเขียนประติมากรรมของพื้นที่ เช่น กำแพงสตรีทอาร์ท ควรถอดรองเท้า ก่อนขึ้นสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพักหรือวิหารน้อย ห้ามจำหน่ายสารเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ รณรงค์การใช้จักรยาน และที่พักควรมีบริการจักรยานให้นักท่องเที่ยวเช่า…

Continue Reading

The Sapphaya Old Police Station Market: What Was it Like?

ชุมชนย่านตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง เคยเป็นท่าเรือเมล์ ที่ล่องไปยังกรุงเทพฯ วิถีชีวิตชุมชนมีความสัมพันธ์กับสายน้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมีทุนทางวัฒนธรรมหลากหลาย เมื่อก่อนนั้น จะมีชาวบ้านจุงควายมาอาบน้ำ ลูกหลานเล่นน้ำกันสนุกสนานอยู่ริมตลิ่งซึ่งในอดีตเป็นสันทราย ที่เล่นแล้วต้องระวังเพราะอาจจมน้ำได้ ทำให้ชาวบ้านจะกังวลมาก ไม่อยากให้ลูกหลานลงเล่นน้ำ จนในปัจจุบัน เด็กสรรพยา จะว่ายน้ำไม่เป็น ปัจจุบัน ตลาดโรงพักเก่าสรรพยา คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นแหล่งทองเที่ยวโดยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดย “ชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรรพยา” ที่มีสมาชิกประกอบด้วยบุคลากรที่มาจากหลายภาคส่วนทั้งคนในชุมชน ภาครัฐ และเอกชน ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางการจัดการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา

Continue Reading
อนุรักษ์พันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

Local Fishing Conservationists, Custodians of Chao Phraya River Fish Species

นายไพฑูรย์ ปวีณมณีกุล ผู้ดูแลโครงการฟื้นฟูสัตว์น้ำและอนุรักษ์พันธุ์ปลาแม่น้ำเจ้าพระยา  อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ  ที่ชาวสรรพยาและผู้ที่อาศัยใกล้ชิดแม่น้ำเจ้าพระยา น่าจะมาศึกษาดูงาน เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา ได้ร่วมกับประมงพื้นถิ่น นำโดย พี่ไพฑูรย์ ที่ได้ต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเรียนรู้การทำประมงพื้นถิ่น และการรักษาพันธุ์ปลา กว่า 20 สายพันธุ์ ที่เลี้ยงไว้เพื่อเพาะพันธุ์และรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นถิ่น ซึ่งมีปลาที่เลี้ยงไว้แบบปลาสวยงาม และปลาเพื่อบริโภค โดยในช่วงเช้าของวิถีประมง จะมีการตรวจกระชังปลา ให้อาหาร และการวางกิ่งไม้ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลา หากวันนึงนั้น ปลาที่เคยมีอยู่คู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้หายไป เหลือไว้แต่ภาพในอดีต…

Continue Reading

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhornof Thailand graciously performed royal duties in the Sapphaya District, Chai Nat Province.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท วันที่ 7  กุมภาพันธ์  2562 เวลา 10.13 น. เสด็จพระราชดำเนินมายัง "โรงพักเก่าสถานีตำรวจภูธรอำเภอสรรพยา" ในการนี้ ทอดพระเนตรนิทรรศการ "สรรพยาพิพัฒน์" ซึ่งจัดแสดงประวัติความเป็นมาของอาคารโรงพักเก่าสถานีตำรวจภูธรอำเภอสรรพยา โดยสร้างขึ้นเมื่อปี 2444 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันมีอายุ 118 ปี เป็นอาคารเรือนไม้ทั้งหลังทรงปั้นหยา ชั้นเดียว มีมุขหน้า คล้ายกับเรือนอาศัยแบบยุโรป มีการฉลุไม้ให้เป็นลวดลาย "ขนมปังขิง" ซึ่งเป็นที่นิยมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสิบตำรวจเอก วาส…

Continue Reading

What is Sapphaya model ?

แหล่งท่องเที่ยวชุมชนตลาดโรงพักเก่าสรรพยา  จังหวัดชัยนาท มีการบริหารจัดการโดยชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา โดยมีเทศบาลตำบลสรรพยา เป็นหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนา ซึ่งมีการใช้นวัตกรรม กระบวนการมีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่า “สรรพยาโมเดล” ประกอบด้วย 4 ส่วน  คือ ผู้นำที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น  บุคลากรในองค์กรที่พร้อมจะเรียนรู้และทุ่มเทในการทำงาน  ชุมชนมีความรัก สามัคคี  พร้อมที่จะพัฒนา  มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ  ช่วยสร้างองค์ความรู้และร่วมพัฒนาไปด้วยกัน จะเห็นได้ว่า ไม่สามารถขาดองค์ประกอบใดไปได้เลย ทั้งนี้ จากการบริหารจัดการของชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา และเทศบาลตำบลสรรพยา ที่ได้มีการ ทำงานร่วมกันในการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากร แกนนำชุมชน…

Continue Reading

The Meaning of the Sapphaya tourism logo

สรรพยาเป็นภูเขาในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภูเขาที่มีสมุนไพรคือ สังกรณี ตรีชวา เมื่อพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ พิเภกทูลพระรามว่ายาแก้พิษหอกโมกขศักดิ์อยู่ที่เขาสรรพยา หนุมานเดินทางไปจนถึงเขาสรรพยาแต่ไม่สามารถเก็บยาได้จึงออกอุบายนั่งบนยอดเขา ใช้หางพันเขาสรรพยาไว้ แล้วเรียกต้นสังกรณี ตรีชวา “เรียกพลางรวบขึ้นไปทุกที” จนถึงยอดเขาก็เก็บยาทั้งหมดได้เมื่อได้แล้วก็กลับไปเฝ้าพระราม เรื่องราวที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่า ชื่อเขาสรรพยา มีความสำคัญกับชาวสรรพยามาก ในช่วงทำการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อจัดตั้งเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากความร่วมมือจาก ชมรมโรงพักเก่าสรรพยา และคณะกรรมการ ร่วมกับชุมชนที่เข้าร่วมกัน ออกความคิดเห็นถึง โลโก้ที่เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของบ้านเกิดของชาวสรรพยา เสียงส่วนใหญ่ เลือก เขาสรรพยาและหนุมาน ที่เป็นเสมือนตัวแทนความเป็นพื้นที่มากที่สุด จึงทำให้โลโก้สรรพยา ที่ทางเทศบาลสรรพยา ร่วมกับชุมชน ออกแบบโลโก้นี้ ที่มีความหมายถึงการทำงานร่วมกัน…

Continue Reading
ฉู่ฉี่ปลาสังกะวาส

"Chuchi Pla Sangkawas" – A Must-Try Dish in Sapphaya, Chai Nat Province.

เมนูเด็ด ของอร่อย สรรพยา จังหวัดชัยนาท ที่หาทานได้ยาก เพราะหาทานได้จริง ๆ ในช่วงระยะเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น คือในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาชนิดนี้ชุมเป็นพิเศษ การทานปลานั้นมีประโยชน์ หลายท่านคงทราบดี แต่เรื่องน่าแปลกใจ ที่เราไม่เคยรู้ก็ตรงที่ ปลาสังกะวาดเป็นปลาน้ำจืด แต่กลับมี โอเมก้า 3 มากกว่าปลาน้ำเค็ม ร่างกายของคนเราไม่สามารถผลิตโอเมเก้า 3 ขึ้นมาใช้เองได้ การที่ร่างกายจะมีสารชนิดนี้ได้ ก็ต้องทานเข้าไปเท่านั้น แล้วโอเมก้า 3 นั้นดีกับชีวิตเราอย่างไร…

Continue Reading
en_USEnglish