skip to Main Content
สรรพยา ท่องเที่ยวเชิงอาหาร

What is Gastronomy tourism ?

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หมายถึง การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร เทศกาลอาหาร ร้านอาหาร และการเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านอาหารในการชิมอาหาร และเครื่องดื่ม ผสมผสานการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ การโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศไทยยังคงให้ความสนใจในการลองรับประทานอาหารท้องถิ่นจนเกิดความซาบซึ้งในวัฒนธรรม และด้วยการท่องเที่ยวด้านอาหารเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัส ได้เรียนรู้วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ความนิยมอาหารพื้นถิ่นที่เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรม และถูกปรับใช้เพื่อเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของวัฒนธรรมอาหาร ถูกทำให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่นการจัดลำดับมิชลินไกด์ประเทศไทยเพื่อแนะนำร้านอาหารสำหรับผู้ที่เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ที่แตกต่างความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหารและการท่องเที่ยวของไทย ล่าสุดนั้น สรรพยา ได้รับรางวัล การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอาเซียน สาขาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ณ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนลาว ด้วยโปรแกรมนำเสนอ ในเรื่อง ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งสรรพยาคือตัวอย่างของการใช้ชีวิตแบบวิถีดั้งเดิมคู่บ้านคู่เมืองไทย

Continue Reading

Luang Pho Phutthasamphet: Another Important Aspect of Sapphaya

Another significant aspect of Sapphaya is the "Wat Sapphaya Watthanaram" temple, located at the entrance to the temple grounds, housing the revered "Luang Pho Phutthasamphet" golden statue. This magnificent statue is made from over 170,000 small golden Buddha images, believed that paying homage to it not only brings success but is also equivalent to paying homage to hundreds of thousands of Buddhas. The beauty of this statue is the result of the collective effort and generosity of the people of Sapphaya, who contributed towards its construction.

Continue Reading

The Sapphaya Old Police Station Market: What Was it Like?

ชุมชนย่านตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง เคยเป็นท่าเรือเมล์ ที่ล่องไปยังกรุงเทพฯ วิถีชีวิตชุมชนมีความสัมพันธ์กับสายน้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมีทุนทางวัฒนธรรมหลากหลาย เมื่อก่อนนั้น จะมีชาวบ้านจุงควายมาอาบน้ำ ลูกหลานเล่นน้ำกันสนุกสนานอยู่ริมตลิ่งซึ่งในอดีตเป็นสันทราย ที่เล่นแล้วต้องระวังเพราะอาจจมน้ำได้ ทำให้ชาวบ้านจะกังวลมาก ไม่อยากให้ลูกหลานลงเล่นน้ำ จนในปัจจุบัน เด็กสรรพยา จะว่ายน้ำไม่เป็น ปัจจุบัน ตลาดโรงพักเก่าสรรพยา คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นแหล่งทองเที่ยวโดยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดย “ชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรรพยา” ที่มีสมาชิกประกอบด้วยบุคลากรที่มาจากหลายภาคส่วนทั้งคนในชุมชน ภาครัฐ และเอกชน ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางการจัดการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา

Continue Reading
อนุรักษ์พันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

Local Fishing Conservationists, Custodians of Chao Phraya River Fish Species

นายไพฑูรย์ ปวีณมณีกุล ผู้ดูแลโครงการฟื้นฟูสัตว์น้ำและอนุรักษ์พันธุ์ปลาแม่น้ำเจ้าพระยา  อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ  ที่ชาวสรรพยาและผู้ที่อาศัยใกล้ชิดแม่น้ำเจ้าพระยา น่าจะมาศึกษาดูงาน เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา ได้ร่วมกับประมงพื้นถิ่น นำโดย พี่ไพฑูรย์ ที่ได้ต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเรียนรู้การทำประมงพื้นถิ่น และการรักษาพันธุ์ปลา กว่า 20 สายพันธุ์ ที่เลี้ยงไว้เพื่อเพาะพันธุ์และรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นถิ่น ซึ่งมีปลาที่เลี้ยงไว้แบบปลาสวยงาม และปลาเพื่อบริโภค โดยในช่วงเช้าของวิถีประมง จะมีการตรวจกระชังปลา ให้อาหาร และการวางกิ่งไม้ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลา หากวันนึงนั้น ปลาที่เคยมีอยู่คู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้หายไป เหลือไว้แต่ภาพในอดีต…

Continue Reading

Water Hyacinth Weaving for Sapphaya Community Development

ทราบกันหรือไม่ว่า ? อำเภอสรรพยาบ้านเรา มีกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวา ที่สร้างมูลค่า และชื่อเสียงให้กับบ้านเราอย่างมาก โดยมีพี่จรวยพร เกิดเสม เป็นประธานกลุ่ม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยมีแนวคิดเริ่มต้นจากมีเวลาว่างหลังการทำนาสาเหตุที่เลือกผักตบชวาเพราะเป็นพื้นที่ที่มากับแม่น้ำปิงวังยมน่านไหลมารวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เกิดผักตบชวาจำนวนมากจึงนำมาใช้ทำจักสานแทนเส้นไม้ไผ่โดยใช้ภูมิปัญญาการสานไม้ไผ่จากปู่ย่าตายายนำมาทำการสานผักตบชวาแทน นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชน และเพื่อให้ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้รู้จักกันมากขึ้น เกิดความรักความสามัคคี สร้างความเข้มแข็งในชุมชน เป็นการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน ช่วยสร้างฐานรากเศรษฐกิจของชุมชน จักสานของกลุ่มหัตถกรรมบ้านอ้อย ได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป 5 ดาว ของจังหวัดชัยนาท เมื่อปี 2538 ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเน้นความประณีต มีหลายรูปแบบ หลากสไตล์…

Continue Reading
en_USEnglish